วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา : นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก


 นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ (บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2520 : 10-11)

2.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference)
2.2 ความพร้อม(Readiness)
2.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
2.4 การขยายตัวทางด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร

2.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference)
การจัด การศึกษาตามแผนการศึกษาแทบทุกฉบับ มุ่งให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่าง บุคคลโดยพิจารณาความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนบุคลิกลักษณะของผู้เรียน แต่ละคนเป็นเกณฑ์ นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวคิดพื้นฐานด้านนี้มีหลายอย่างคือ
2.1.1 การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
2.1.2 เครื่องสอน (Teaching Machine)
2.1.3 บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนด้วยตนเอง (Programmed Text Book or Programmed Instruction)
2.1.4 สื่อประสม (Multi-media ) หรือชุดการสอน (Learning Packages)
2.1.5 การสอนแบบเป็นคณะ (Team Teaching)
2.1.6 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
2.1.7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.1.8 ชุดการสอนย่อย (Minicourse)

2.2 ความพร้อม(Readiness) 
ความพร้อมสามารถสร้างขึ้นได้ในตัวผู้เรียน ดังนั้นการจัดลำดับเนื้อหา ผนวกกับการนำ นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยสร้างความพร้อม ได้อย่างดี นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีหลายอย่างดังนี้
2.2.1 ศูนย์การเรียน (Learning Center)
2.2.2 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
2.2.3 การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in Three Phases)


2.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
แนวการจัดหน่วยเวลา สำหรับการเรียนการสอนในปัจจุบันยึดถือความสัมพันธ์ ของเวลา กับลักษณะเนื้อหาของแต่ละ วิชานั่นคือ เนื้อหาวิชาเป็นตัวแปรหลัก ส่วนเวลาเป็นตัวแปรตามซึ่งแตกต่างจากแนวการจัด แบบเดิมมาก ดังนั้นแต่ละวิชาจึงมีช่วงเวลาการสอนไม่เท่ากัน และสถานที่เรียนก็ไม่จำกัดอยู่ เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมการศึกษาที่สนองแนวคิด พื้นฐานด้านนี้ ได้แก่
2.3.1 การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
2.3.2 มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2.3.3 แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
2.3.4 การเรียนทางไกล (Distance Education) และการเรียน ทางไปรษณีย์ (Mailed Education)


2.4 การขยายตัวทางด้านวิชาการและการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
ปัจจุบันนี้การขยายตัวทางด้านวิชาการมีมากและ รวดเร็วมากมีการคิดค้นวิชาการใหม่ ๆ แปลก ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม โดยเฉพาะวิชาการด้านวิชาชีพ และการ ใช้เวลาในการเรียนก็แตกต่างจากเดิมมาก วิชาที่ใช้เวลาเรียนสั้น ๆ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะ การฝึกอบรม การเสริมความรู้ การศึกษาแบบอิสระ มีเพิ่มมากขึ้นจำนวนผู้เรียนก็เปลี่ยนไป คือ แต่เดิมอัตราการเพิ่มของประชากรมีน้อย ระยะหลัง ๆ การเพิ่มมีมากเนื่องจากอัตรา การเกิดสูง แต่ในปัจจุบันการคุมกำเนิดได้ผลมาก อัตราการเกิดก็ต่ำทำให้อัตราการเพิ่ม ของประชากรน้อยด้วย นวัตกรรมที่นำมาใช้จัดการศึกษา จึงแตกต่างกันไป ตามองค์ประกอบ เหล่านั้น นวัตกรรมการศึกษา*ี่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีดังนี้ 
2.4.1 มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) 
2.4.2 การเรียนทางสื่อมวลชน (Mass Communication Education) อันได้แก่ การเรียนทางวิทยุ การเรียนทาง โทรทัศน์ การเรียนทางไปรษณีย์ ตลอดจนการเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 
2.4.3 สื่อประสม (Multi-Media ) หรือ ชุด การสอน (Learning Packages) 

นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา


เป็นนวัตกรรมที่มีขอบเขต เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกด้าน ตั้งแต่หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษา การวัดและประเมินผล และการบริหาร ทัศนา แขมมณี (2526 : 13) และวาทิต ระถี (2531) ได้แบ่งประเภทนวัตกรรมการศึกษาออกเป็น 5 ด้าน คือ

1.
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2.
นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.
นวัตกรรมสื่อการสอน
4.
นวัตกรรมการประเมินผล
5.
นวัตกรรมการบริหารจัดการ



นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎี และปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (Activity or Experience Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการการมีออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
และ
- การจัดหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ (Function Literacy)
- การจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ ตามลำดับขั้นจนบรรลุเป้าหมาย (Mastery Learning Curriculum)
- หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (Individualized Curriculum)




นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ แก้ปัญหาการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
- การสอนแบบโมดุล (Module Teaching)
- การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
- การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching)
- การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching)
- การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching)
- การสอนแบบพี่สอนน้อง (Monitoring) และการปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification)
- การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction)
- การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)
- การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques)
- การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
- การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time)
- การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package)
- การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction)
- การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training)
- ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
- การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
- การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ


นวัตกรรมสื่อการสอน(และเทคโนโลยีการศึกษา)
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI : Computer-Assisted Instruction)
- มัลติมีเดีย (Multimedia) 
- การประชุมทางไกล (Tele Conference)
- วีดีทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Media/Video) 
- บทเรียนสำเร็จรูป (Programed Instruction) 
- เครื่องช่วยสอน(Teaching Machine) 
- วิทยุและโทรทัศน์ช่วยสอน (Teaching By Radio and TV) 
- ชุดการสอน (Learning Packages) 


นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา 
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด 
- การวัดผลแบบอิงกลุ่มและแบบอิงเกณฑ์ (Formative and Summative Evaluation) 
- การประเมินผลเพื่อแก้ข้อ บกพร่อง (Diagnostic Evaluation) 
- การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (Automatic Promotion)
- การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-test) 
นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบางสถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากร ที่มีความอำนวยด้านการออกแบบระบบและการพัฒนาเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน


นวัตกรรมการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหาร เช่น
- การจัดการศึกษาแบบเปิด (Open University) 
- การจัดการศึกษาตามแนวมานุษยนิยม (Humanistic Education) 
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (Non-Formal Education)
- การจัดโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก (Summer Hill School) 
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School) 
- การจัดโรงเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) 
- การเกณฑ์เด็กสองกลุ่มอายุ 
และจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ